เมนู

อานาปานสติกถา ในมหาวรรค


1. อรรถกถาคณนวาร


บัดนี้ ถึงลำดับที่จะพรรณนาความที่ยังไม่เคยพรรณนา แห่งอานา-
ปานสติกถาที่ท่านกล่าวไว้ในลำดับแห่งทิฏฐิกถา.
จริงอยู่ อานาปานสติกถานี้ เป็นสมาธิภาวนาอันทำได้ง่ายเพื่อตรัสรู้
ตามความเป็นจริง แห่งโทษของทิฏฐิที่กล่าวไว้ดีแล้ว ในทิฏฐิกถา แห่งจิต
บริสุทธิ์ด้วยดี ด้วยการชำระมลทินแห่งมิจฉาทิฏฐิ. อนึ่ง ในสมาธิภาวนาทั้งปวง
อานาปานสติกถานี้ ท่านกล่าวไว้ในลำดับแห่งทิฏฐิกถาว่าเป็นสมาธิภาวนาและ
เป็นประธาน เพราะตรัสรู้ตามความเป็นจริง แห่งจิตตั้งมั่นแล้วด้วยสมาธินี้ ณ
โพธิมูล ของพระสัพพัญญูโพธิสัตว์ทั้งปวง.
พึงทราบวินิจฉัยในอานาปานสติกถานั้นดังต่อไปนี้. บทว่า โสฬส-
วตฺถุกํ อนาปานสฺสติสมาธึ ภาวยโต สมธิกานิ เทฺว ญาณสตานิ
อุปฺปชฺชนฺติ
เมื่อพระโยคาวจรเจริญสมาธิอันปฏิสังยุตด้วยอานาปานสติ มี
วัตถุ 16 ญาณ 200 อันเนื่องมาแต่สมาธิย่อมเกิดขึ้น เป็นการยกขึ้นแสดง
จำนวนญาณ. บทมีอาทิว่า อฏฺฐ ปริปนฺเถ ญาณานิ ญาณในธรรมอัน
เป็นอันตราย 8 เป็นการชี้แจงจำนวนญาณ. บทต้นว่า กตมานิ อฏฺฐ ปริปนฺเถ
ญาณานิ
ญาณในธรรมอันเป็นอันตราย 8 เป็นไฉน. บทสุดท้ายว่า อิมานิ
เอกวีสติ วิมุตฺติสุเข ญาณานิ
ญาณในวิมุตติสุข 21 เหล่านี้ เป็นการชี้แจง
ความพิสดารของญาณทั้งปวง. พึงทราบการกำหนดบาลีก่อนอย่างนี้ว่า บทมี

อาทิว่า โสฬสวตฺถุกํ อานาปานสฺสติสมาธึ ภาวยโต เมื่อพระโยคาวจร
เจริญสมาธิอันปฏิสังยุตด้วยอานาปานสติ มีวัตถุ 16 เป็นบทสรุปในที่สุด.
พึงทราบวินิจฉัยในการยกแสดงจำนวน ในการนับจำนวนว่า อานา-
ปานสติสมาธิ มีวัตถุ 16 ก่อนดังต่อไปนี้. ชื่อว่า โสฬสวตฺถุโก เพราะมีวัตถุ
เป็นที่ตั้ง คือมีอารมณ์ 16 ด้วยสามารถแห่งจตุกะ ละ 4 เหล่านี้ คือ ลมหายใจ
ยาว สั้นกำหนดรู้กองลมทั้งปวง สงบกายสังขาร ชื่อว่า กายานุปัสสนาจตุกะ 1
กำหนดรู้ปีติ สุข จิตสังขาร สงบจิตสังขาร ชื่อว่า เวทนานุปัสสนาจตุกะ 1
กำหนดรู้จิต จิตยินดียิ่ง จิตตั้งมั่น จิตพ้น ชื่อว่า จิตตนุปัสสนาจตุกะ 1
พิจารณาเห็นความไม่เที่ยง ความคลายกำหนัด การดับทุกข์ การสละ ชื่อว่า
ธัมมานุปัสสนาจตุกะ 1. อานาปานสติสมาธิ มีวัตถุ 16 นั้น. ก็ในบทนี้
ลบวิภัตติด้วยวิธีของสมาส.
บทว่า อานํ ได้แก่ ลมหายใจเข้าในภายใน. บทว่า อปานํ ได้แก่
ลมหายใจออกในภายนอก. แต่อาจารย์บางพวกกล่าวโดยตรงกันข้าม เพราะ
หายใจออกท่านกล่าวว่า อปานะ เพราะปราศจากการหายใจเข้า. แต่ในนิเทศ
ท่านกล่าวว่า อาปาน เพราะเพ่งถึงทีฆะ อักษร. เมื่อมีอานาปาน นั้น
ชื่อว่า อานาปานสติ. อานาปานสตินี้เป็นชื่อของสติกำหนดอัสสาสะ ปัสสาสะ
(ลมหายใจเข้าและหายใจออก) สมาธิประกอบด้วยอานาปานสติ หรือสมาธิ
ในอานาปานสติ ชื่อว่า อานาปานสติสมาธิ.
บทว่า ภาวยโต คือเจริญนิพเพธภาคี (ธรรมเป็นส่วนแห่งการ
แทงตลอด). บทว่า สมาธิกานิ อันเนื่องมาแต่สมาธิ คือ เป็นไปกับด้วย
ความยิ่ง ความว่า มีความยิ่งเกิน. ในบทว่า สมาธิกานิ นี้ อักษรเป็น
บทสนธิ. แต่อาจารย์บางพวกกล่าวว่า สํ อธิกานิ. เมื่อเป็นอย่างนั้นก็ได้

ความว่า ญาณ 200 ด้วย ยิ่งด้วย. ข้อนั้นไม่ถูก เพราะญาณ 200 เหล่านี้
ก็จะเกินไป 20.
บทว่า ปริปนฺเถ ญาณานิ ญาณในธรรมเป็นอันตราย คือญาณ
อันเป็นไป เพราะทำอันตรายให้เป็นอารมณ์. อนึ่ง ญาณในธรรมเป็นอุปการะ
ในอุปกิเลส. บทว่า โวทาเน ญาณานิ ญาณในโวทาน (ความผ่องแผ้ว)
คือ ชื่อว่า โวทาน เพราะจิตผ่องแผ้วบริสุทธิ์ด้วยญาณนั้น. ควรกล่าวว่า
โวทานญาณานิ ท่านกล่าวว่า โวทาเน ญาณานิ ญาณในโวทานดุจใน
บทมีอาทิว่า สุตมเย ญาณํ ญาณในสุตมยปัญญา. ชื่อว่า สโตการี เพราะ
มีสติสัมปชัญญะทำ ญาณของผู้มีสติทำนั้น.
บทว่า นิพฺพิทาญาณานิ คือญาณอันเป็นนิพพิทา (เบื่อหน่าย).
บทว่า นิพฺพิทานุโลเม ญาณานิ คือญาณเกื้อกูลนิพพิทา. ปาฐะว่า
นิพฺพิทานุโลมิญาณานิ บ้าง. ความว่า ชื่อว่า นิพพิทานุโลมี เพราะ
มีญาณเกื้อกูลแก่นิพพิทา. บทว่า นิพฺพิทาปฏิปฺปสฺสทฺธิญาณานิ คือญาณ
ในความสงบนิพพิทา. บทว่า วิมุตฺติสุเข ญาณานิ คือญาณสัมปยุตด้วย
วิมุตติสุข.
ด้วยบทมีอาทิว่า กตมานิ อฏฺฐ(8)เป็นไฉน ท่านแสดงถึงญาณร่วม
กันในธรรมอันตรายและในธรรมเป็นอุปการะเหล่านั้น เพราะญาณในธรรม
เป็นอันตราย และในธรรมเป็นอุปการะเป็นคู่ ตรงกันข้ามและเป็นข้าศึกกัน.
บทมีอาทิว่า กามจฺฉนฺทเนกฺขมฺมา มีความดังได้กล่าวแล้วในหนหลัง. อนึ่ง
บทว่า อุปการํ เป็นนปุงสกลิงค์ โดยเป็นลิงควิปลาส.
บทว่า สพฺเพปิ อกุสลา ธมฺมา อกุศลธรรมแม้ทั้งปวง คืออกุศล
ธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งที่เหลือดังกล่าวแล้ว. อนึ่ง กุศลธรรมทั้งปวงเป็นฝ่าย

แห่งการแทงตลอด. บทว่า ปริปนฺโถ และอุปการํ เป็นเอกวจนะ เพราะ
เพ่งถึงบทนั้น ๆ นั่นเอง. พระสารีบุตรเถระ ครั้นถามถึงญาณในธรรมเป็น
อันตราย และญาณในธรรมเป็นอุปการะนี้แล้ว แก้อารมณ์แห่งญาณเหล่านั้น
แล้วแสดงสรุปญาณอันมีญาณนั้นเป็นอารมณ์ว่า เป็นอันแก้ญาณเหล่านั้นด้วย
ธรรมเป็นปริปันถะ และอุปการะเหล่านั้นแล้ว. แม้ในบทมีอาทิว่า ญาณใน
อุปกิเลสก็มีนัยนี้เหมือนกัน.
จบอรรถกถาคณนวาร

2. อรรถกถาโสฬสญาณนิเทศ


บทว่า โสฬสหิ อากาเรหิ ด้วยอาการ 16 เหล่านั้น คือด้วยส่วน
แห่งญาณ 16 ดังได้กล่าวแล้วโดยเป็นฝ่ายทั้งสอง. บทว่า อุทุปิตจิตฺตํ สมุทุ-
ปิตจิตฺตํ
จิตอันฟุ้งซ่านและจิตสงบระงับ ความว่า ในอุปจารภูมิ จิตสะสม
ไว้เบื้องบน สะสมไว้เบื้องบนโดยชอบ ทำการสะสมสูงขึ้น ๆ ทำการสะสม
สูงขึ้น ๆ โดยชอบ. ปาฐะว่า อุทุชิตํ จิตตํ สุมุชิตํ บ้าง. ความว่า จิตชนะ
เพราะความสูง หรือชนะด้วยญาณอันทำความสูง.
บทว่า สุมุทุชิตํ คือชนะเพราะความสูงเสมอ หรือชนะด้วยญาณ
อันทำความสูง เป็นอันปฏิเสธความไม่เสมอ ในบทนี้ว่า สมา เสมอ. ใน
ปาฐะนี้มีอุปสรรค 2ตัว คือ อุ. ทุ. ปาฐะว่า อุรูชิตํ จิตฺตํ สมฺมารูชิตํ
บ้าง. แม้ในปาฐะนี้ก็มีความว่าชนะแล้วเหมือนกัน. อาจารย์พวกหนึ่งกล่าวว่า
บทว่า อุรู อรู นี้ เป็นเพียงนิบาตเท่านั้น.